เลขที่ 333 หมุ่ 2 ต.สบปราบ อ.สบปราบ ลำปาง,
52170

054-296085, 054-296252 Fax 054-296253
sobprabhospital@hotmail.com

โรคกระดูกพรุน

 

กระดูกจะมีการหมุนเวียนเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง แต่จะไม่ซ้ำที่กัน กระดูกทั่วๆไปจะมีการหมุนเวียนและปรับกระดูกเก่าให้เป็นกระดูกใหม่ทั้งร่างกายใช้เวลาประมาณ 10 ปี

 

3.            การสะสมการสลายของกระดูก (damage accumulation or microfracture) รูปที่ 4 กระดูกใดยิ่งมีการสลายกระดูกมาก หลุมบ่อของกระดูกจะมีทั่วไป นำไปสู่การเพิ่มความเครียดต่อกระดูกเพิ่มขึ้น (increase stress riser) และทำให้กระดูกมีความเสี่ยงต่อกระดูกหักเพิ่มขึ้น

 

 

รูปการสะสมการสลายของกระดูก

 

4.            การสะสมแร่ธาตุของกระดูก (bone mineralization) รูปที่ 5 ขบวนการปรับแต่งกระดูก จะมีทั้งการสลายและการสร้างกระดูก โดยขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างกระดูกคือการสะสมแร่ธาตุของกระดูก ในขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยพบว่า 3 ใน 4 ของการสะสมแร่ธาตุในกระดูก จะเกิดขึ้นภายในเวลา 2-3 วัน แต่พบว่าอีก 1 ใน 3 ต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ หลังจากสามเดือน จะไม่พบ osteoid ในลักษณะที่ไม่มีการสะสมแร่ธาตุอีกต่อไป พิสูจน์ได้จากการย้อมสี แต่การสะสมของแร่ธาตุเพิ่มเติมและการปรับสภาวะของผลึกให้สมบูรณ์จะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของค่าความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกอีกประมาณร้อยละ 10-20 ภายใน 1 หรือ 2 ปี

 

 

รูปที่ 5 แสดงการสะสมแร่ธาตุของกระดูก

 

โรคกระดูกพรุนถือเป็นภัยเงียบ โดยทั่วไปจะไม่มีอาการแสดงใดๆทั้งสิ้น ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะรู้ตัวหรือมีอาการต่อเมื่อ

 

มีกระดูกหักจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย เช่นหกล้มเป็นต้น

 

มีอาการปวดหลังโดยไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่มักเกิดจากมีกระดูกสันหลังหักหรือทรุดลง

 

หลังโก่งหรือตัวเตี้ยลง

 

หากผู้สูงอายุเหล่านี้ไม่ได้รับการรักษาโรคกระดูกพรุนอย่างเหมาะสม ผลที่ตามมาคือคุณภาพชีวิตจะลดลงหรืออาจถึงเสียชีวิตได้

 

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน

 

ในปีค.ศ. 1994 องค์การอนามัยโลกได้เสนอเกณฑ์การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน3 โดยใช้เครื่องตรวจวัดค่ามวลกระดูกเป็นมาตรฐาน แบ่งกระดูกออกเป็น 4 ชนิดดังนี้

 

กระดูกปกติ (normal bone) คือกระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ในช่วง 1 ความเบี่ยงเบนมาตรฐานใต้ต่อค่าเฉลี่ยของสตรีวัยเยาว์ที่มีค่ามวลกระดูกสูงสุด

 

กระดูกโปร่งบาง (osteopenia) คือกระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ระหว่างช่วง 1-2.5 ความเบี่ยงเบนมาตรฐานใต้ต่อค่าเฉลี่ยของสตรีวัยเยาว์ที่มีค่ามวลกระดูกสูงสุด

 

กระดูกพรุน (osteoporosis) คือกระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ใต้ต่อค่าเฉลี่ยของสตรีวัยเยาว์ที่มีค่ามวลกระดูกสูงสุด 2.5 หรือต่ำกว่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

กระดูกพรุนอย่างรุนแรง (severe or established osteoporosis) คือกระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ใต้ต่อค่าเฉลี่ยของสตรีวัยเยาว์ที่มีค่ามวลกระดูกสูงสุดต่ำกว่า 2.5 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานร่วมกับมีกระดูกหัก

 

ความชุกและความสำคัญของโรคกระดูกพรุน

 

ในปีค.ศ. 2002 national osteoporosis foundation ของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าคนอเมริกาจำนวน 10 ล้านคนพบเป็นโรคกระดูกพรุน และมีจำนวนสูงถึง 34 ล้านคนมีมวลกระดูกต่ำ และพบว่าในแต่ละปีประชากรชาวอเมริกาจะมีกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนมากกว่า 1.5 ล้านคนต่อปี ในจำนวนนี้ 3 แสนคนเป็นกระดูกสะโพกหัก และ 7 แสนคนเป็นกระดูกสันหลังหัก และเป็นกระดูกบริเวณข้อมือหัก 250,000 คน และกระดูกส่วนอื่นๆหัก 300,000 คน (สามารถสืบค้นได้จาก www.nof.org) นอกจากนี้จากการศึกษาของ Melton LJ และคณะ4 และ Chrischilles EA และคณะ5 ยังพบว่าสตรีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปและเป็นโรคกระดูกพรุน ร้อยละ 40-50 ของสตรีเหล่านี้ตลอดชั่วชีวิตจะมีกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนอย่างน้อย 1 แห่ง

 

ผู้ป่วยที่มีกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนพบมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงและยังพบว่าผู้ป่วยเหล่านี้จะมีอายุสั้นกว่าผู้สูงอายุที่มีอายุเดียวกันในทั้งกระดูกสันหลังและกระดูกสะโพกหัก

 

จากข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนภายหลังกระดูกสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุน ใน ESCORTE study (2005)6 พบว่าร้อยละ 14.7 ของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุนเสียชีวิตภายใน 6 เดือนและส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เป็นอยู่เก่า และพบว่าภายหลังรักษา 6 เดือน ร้อยละ 75 ต้องรักษาตัวในสถานพักฟื้น ขณะที่ร้อยละ 25 สามารถกลับพักในบ้านตนเองได้ และพบว่าประมาณครึ่งหนึ่งสามารถเดินเองได้ นอกนั้นต้องใช้เครื่องช่วยหรือบางรายต้องนอนกับเตียงอย่างเดียว

2024 © Sopprab Hospital All Rights Reserved.